ประกาศ:

คุณครูอรนงค์ ลิ่มสืบเชื้อ

เรื่อง                 รายงานผลการพัฒนาหนังสืออ่านประกอบ เรื่อง มรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต

ผู้ศึกษาค้นคว้า  นางอรนงค์  ลิ่มสืบเชื้อ โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต

ปีการศึกษา       2551

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนาหนังสืออ่านประกอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ เรื่องมรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต สำหรับผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านประกอบ เรื่องมรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังของการอ่านหนังสืออ่านประกอบ เรื่องมรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนหลังการพัฒนาหนังสืออ่านประกอบ เรื่องมรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต

ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต จำนวน 267 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ หนังสืออ่านประกอบ เรื่องมรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาจำนวน 9 เล่ม 9 เรื่อง ได้แก่ 1.ความเป็นมาของภูเก็ต 2.ภูเก็ตในวันวาน 3. โบราณสถาน-โบราณวัตถุ 4.สองวีรสตรี (ท้าวเทพกระษัตรี/ท้าวศรีสุนทร) 5.บารมีหลวงพ่อแช่ม 6.ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นภูเก็ตของชาวไทยพุทธ 7. ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นภูเก็ตของชาวไทยมุสลิม 8.ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นภูเก็ตของชาวภูเก็ตฮกเกี้ยน 9. ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตใหม่(ชาวเล) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการพัฒนาหนังสืออ่านประกอบ เรื่องมรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประสิทธิภาพของนวัตกรรม (E1/E2) และ t-test

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.หนังสืออ่านประกอบ เรื่องมรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีประสิทธิภาพ 87.00/87.00 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์

2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของผู้เรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการพัฒนาหนังสืออ่านประกอบ เรื่องมรดกวัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ตสูงกว่าการอ่านหนังสืออ่านประกอบและเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3.ความคิดเห็นของผู้เรียนหลังการพัฒนาหนังสืออ่านประกอบ เรื่องมรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ตอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด โดยทุกรายการมีความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ย 4.52 และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า การพัฒนาหนังสืออ่านประกอบ เรื่องมรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีคุณค่า ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ รู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง รักการอ่าน และรู้จักการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาคือ ควรนำเอาวัตกรรม เรื่องมรดกวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต ไปพัฒนากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกห้องเรียน โดยเฉพาะกับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์การเรียนต่ำ เนื่องจากนำเอาความสามารถมาพัฒนาผู้เรียนสูงขึ้น อันเป็นผลให้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่ยั่งยืนตามศักยภาพ


Rate this item
(0 votes)
back to top